จริยธรรมทางการพยาบาล
• จริยธรรม
หมายถึง “ความประพฤติที่ดี มนุษย์ควรปฏิบัติ เป็นผลจากการไตร่ตรอง พิจารณาด้วยเหตุผล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. จริยธรรมภายใน
ได้แก่ ความรู้ เหตุผล ทัศนคติ
2. จริยธรรมภายนอก
ได้แก่ พฤติกรรม
หลักจริยธรรมสำหรับการดูแลสุขภาพ
- การเคารพเอกสิทธิ์/อิสระ (Autonomy)
- การทำประโยชน์ (Beneficence)
- การไม่ทำอันตราย (Nonmalficence)
- ความยุติธรรม (Justice) - ความซื่อสัตย์ (Fidelity)
หลักจริยธรรมสำหรับการบริการพยาบาล
- การพิทักษ์สิทธิ์ ทำหน้าที่แทน (Advocacy)
- ความรับผิดชอบ (Accountability)
- ความร่วมมือ (Cooperation)
- ความเอื้ออาทร (Caring)
การเคารพอิสระ(Respect for Autonomy)
การตัดสินใจ การกระทำตามความปรารถนาของตนเอง
- อยู่บนพื้นฐานของค่านิยม ความเชื่อ เหตุผล และความตั้งใจ
- อาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำด้วยความเข้าใจ
- เป็นอิสระจากการถูกบังคับ
การเคารพในความเป็นบุคคลของผู้ใช้บริการ
- ตระหนักในความเป็นคนและความเป็นตัวเองที่แตกต่างเฉพาะบุคคล
- มีความจริงใจ สามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังเพื่อเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ปัญหา ความต้องการ
การทำประโยชน์ (Beneficence)
การทำในสิ่งที่ดี มีเมตตา ปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์
- การทำประโยชน์ ป้องกันอันตราย ส่งเสริมสิ่งที่ดี
- การสมดุลระหว่างประโยชน์และอันตราย
การไม่ทำอันตราย (Nonmalficence, Doing no harm)
- การไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ได้แก่ ห้ามฆ่า ทำให้ปวด ทำให้พิการ ทำให้ไร้ความสามารถ ทำให้ทุกข์ จำกัดอิสรภาพ
ความยุติธรรม (Justice)
- สิ่งที่เท่ากันต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน
- ทำให้เหมือนกัน ไม่เลือกกลุ่ม ศาสนา วรรณะ
ความซื่อสัตย์ (Fidelity)
พันธะหน้าที่ที่จะต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
- การรักษาสัญญา ทำสิ่งที่รับปากไว้
- การปกปิดความลับ ข้อมูลของผู้ป่วยจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเท่านั้น
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วยจะไม่เป็นความผิดถ้า
- ผู้ป่วยยินยอม
- ปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
- เปิดเผยต่อผู้ร่วมทีมในการดูแลรักษาผู้ป่วย
การพิทักษ์สิทธิ์ (Advocacy)
การรักษา ปกป้อง หรือช่วยให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ เป็นผู้แทนในการตัดสินใจและลงมือกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
ความรับผิดชอบ ( Accountabilily )
การที่บุคคลสามารถให้คำตอบในสิ่งที่ตนได้กระทำหรือรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ ต่อวิชาชีพ เพื่อนร่วมงานและตนเอง ตามกฎหมายและจริยธรรม
ต่อผู้ใช้บริการ
ให้การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ให้การดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพในยามเจ็บป่วยโดยใช้ความรู้ ทักษะ ศิลปะวิทยาการอย่างเต็มความสามารถด้วยความรักเพื่อนมนุษย์
ต่อตนเอง
- การพัฒนาความรู้ ทักษะ และสติปัญญาเพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนาคุณธรรมให้มีมโนธรรม ประพฤติอยู่ในความดี
- การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ เพื่อมีชีวิตและทำงานอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข
- มีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ต่อวิชาชีพ
- ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
- ร่วมกันสร้างความก้าวหน้าทางวิตถาร พัฒนาความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบริการพยาบาล
- แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ระหว่างสมาชิกพยาบาลและสังคม
- รักษาจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อสร้างความศรัทธาให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจในบริการของวิชาชีพ
ต่อสังคม
ใส่ใจจริงใจในการพยาบาลแก่สังคมโดยไม่เลือกกลุ่มชน ร่วมมือในการคิดค้นหาทางที่จะสนองตามความต้องการของสังคม
ความร่วมมือ (Cooperation)
- การมีส่วนร่วมงานอย่างจริงจังเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพ
- ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน ร่วมรับผิดชอบ
ความเอื้ออาทร (Caring)
การที่พยาบาลปกป้องดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพดี สมศักดิ์ศรีของมนุษย์
- ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ ใส่ใจในปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยและญาติ
- การให้กำลังใจ
- ยิ้มแย้มแจ่มใส มีไมตรี
ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
“สถานการณ์ที่ไม่มีความผิดหรือถูกต้องอย่างแท้จริง ไม่มีคำตอบที่เตรียมไว้ใช้ในการแก้ปัญหาได้ทันที ก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทางเลือกที่มีหลายทาง”
ประเด็นจริยธรรมที่พบบ่อย
- การบอกความจริง
- การให้ความยินยอม
- การปฏิเสธการรักษา การยืดชีวิต
- การสื่อสารไม่ชัดเจน
- การรักษาทางเลือก
- เมตตามรณะ ฯลฯ
สาเหตุประเด็นจริยธรรม
- ความรู้ เทคโนโลยีก้าวหน้า
- ค่านิยมการบริโภคเปลี่ยนแปลง-การใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น
- ทัศนคติ ความคาดหวังของสังคม ผู้ป่วยต่อวิชาชีพ
- การขาดจริยธรรม ความสามารถ ของผู้ปฏิบัติงาน
- นโยบายการบริหารงานของหน่วยงานขาดระบบ
- ทัศนคติของทีมสุขภาพ การยอมรับ ให้เกียรติ
- การสื่อสารไม่ชัดเจน
การตัดสินใจเชิงจริยธรรม
- เก็บรวบรวมข้อมูล
- กำหนดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
- กำหนดและวิเคราะห์ทางเลือก
- ตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติ
- ประเมินผล
ผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างมีจริยธรรม ทำอะไร..?...
1.มีใจให้ - พรหมวิหาร 4, อิทธิบาท 4
2.วิเคราะห์ตนได้ – เป็นใคร, หน้าที่อะไร
3. เปิดใจกว้าง - รู้จักผู้ป่วย ครอบครัว สังคม
- รับรู้รับฟังปัญหา รับฟังความคิดเห็นและให้โอกาสผู้ป่วยและญาติในการตัดสินใจ
4. กระจ่างในค่านิยม – เข้าใจ ยอมรับในความแตกต่าง
5. สะสมทักษะในงานและการสื่อสาร
ฝากไว้.........
มิใช่.....เพียงทำให้เสร็จ แต่ทำให้สำเร็จอย่างมีคุณค่า (The winner says “let’s me do it for you”)
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการบริการ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น