ข้อ 1 “ผู้นำในดวงใจของท่านคือใคร?” จงนำเสนอรายละเอียด ภาวะผู้นำ ที่นักศึกษาเลือก มา 1 ท่าน และผู้ที่ท่านเลือกเป็นผู้นำลักษณะ ใดโดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ภาวะผู้นำวิเคราะห์ (50 คะแนน)
ผู้นำในดวงใจของข้าพเจ้า คือ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ บุคลิกภาพเป็นแบบเรียบง่าย
ประนีประนอม ไม่ก้าวร้าว เป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ดังคำกล่าวที่ว่า “รัฐมนตรีผู้ยกมือไว้คนทุกชนชั้น” และจะกล่าวชื่นชมผู้ร่วมงานในระหว่างประชุมหรือการพบปะเจรจาในทางส่วนตัวอยู่เสมอ เป็นผู้ที่หาโอกาสศึกษาคน พยายามเข้าใจเหตุผล อารมณ์และความรู้สึกของคน และมีความจริงใจกับเพื่อนร่วมงานและให้เกียจเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ
เป็นผู้พยายามศึกษาวิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมส่วนตัว เป็นคนใจเย็น ยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ เป็นสุภาพบุรุษ มองศัตรูคือมิตรที่ยังไม่มีเวลาจับเข่าคุยกัน
ตั้งทฤษฎีการต่อรองแบบ "การฑูตอังกฤษ" กล่าวคือ การตั้งความคาดหวังไว้ต่ำในการเริ่มเจรจา เมื่อพบคู่เจรจาที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ผลการเจรจาโดยวิธีการของนายแพทย์กระแสจึงมักจะสูงเกินความคาดหวัง "การบริหารงานของศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นแบบมนุษย์นิยม มุ่งเน้นเรื่องของประโยชน์-นิยม โดยเฉพาะประโยชน์นิยมต่อส่วนรวม หรือต่อส่วนใหญ่ เน้นประชาชนผู้ด้อยโอกาสตามแหล่งชุมชน หรือ แหล่งเสื่อมโทรมที่มีคุณภาพชีวิตตกต่ำในด้านเศรษฐกิจ และสิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าพิจารณาจากสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ
1. ภาวะผู้นำ ที่จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทีมงานในองค์การ การสื่อสารในองค์การให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างภาวะผู้นำ นั้นต้องอาศัย ความตั้งใจ ความพยายาม รวมถึงประสบการณ์ของตัวผู้นำเอง
2. การใช้ระบบการรวบรวมข้อมูลสำคัญๆต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ,ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่เรียกว่า Control panel เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา องค์การอย่าง ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อ 2 นักศึกษาจงค้นคว้าและศึกษา พร้อมสรุปรายละเอียด เกี่ยวกับ แนวคิดภาวะผู้นำ ของ ศาสตราจารย์ ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ เจ้าของรางวัลคุณหมอแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย โดยสังเขป (50 คะแนน)
รางวัลแมกไซไซ
“รางวัลแม็กไซไซ” หรือ “รางวัลรามอน แมกไซไซ” (Ramon Magsaysay Award) รางวัลอันทรงเกียรติซึ่งเปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของกลุ่มประเทศเอเชีย เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายรามอน แม็กไซไซ อดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งประชาชนยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ เนื่องจากแม็กไซไซเป็นผู้จัดตั้งขบวนการใต้ดิน ต่อสู้กับกองทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยังเป็นหัวหน้าขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาติ และได้ทำงานทุ่มเทแรงงานแรงใจให้กับการช่วยเหลือคนยากไร้ ภายหลังจากนายรามอนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากเครื่องบินตกเมื่อเดือนมีนาคม 1957 มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์(Rockefeller Brothers Fund) ได้อุทิศเงินจำนวน 10 ล้านบาท ก่อตั้งมูลนิธิรางวัลแม็กไซไซ (Ramon Magsaysay Award Foundation)ขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน การมอบรางวัลดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อรับรองและประกาศเกียรติคุณของบุคคลที่อยู่ในทวีปเอเชีย ผู้อุทิศตนเพื่อรับใช้มนุษยชาติในทางสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็น 6 สาขาคือ 1.สาขาบริการภาครัฐ (Government Service) 2.สาขาบริการสาธารณะ (Public Service) 3. สาขาผู้นำชุมชน (Community Leaderships) 4. สาขาวารสารศาสตร์,วรรณกรรมและศิลปะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์(Journalism, Literature and Creative Communication Arts) 5. สาขาสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ(Peace and International Understanding) และ 6. สาขาผู้นำในภาวะฉุกเฉิน (Emergent Leadership) หากปีใดหาผู้เหมาะสมไม่ครบตามสาขานั้นๆ ก็จะไม่มีการพิจารณามอบรางวัล สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเหรียญสดุดีและเงินรางวัลประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,000,000 บาท โดยมีพิธีมอบที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของแม็กไซไซ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เกิดที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ในครอบครัวชาวนาที่ยากจน ในวัยเด็กต้องดิ้นรนทำงานเพื่อส่งตัวเองเรียนหนังสือมาตั้งแต่อายุ 13 ปี แต่ในที่สุดก็สามารถจบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปี 1960 แต่แทนที่จะประกอบอาชีพในเมืองหลวงอย่างสุขสบาย นายแพทย์กระแส กลับอุทิศตัวโดยใช้วิชาชีพเพื่อดูแลรักษาประชาชนที่ยากจนในชนบทห่างไกล โดยหลังจากจบการศึกษา นายแพทย์กระแสก็ได้กลับไปบ้านเกิดเพื่อตั้งสถานพยาบาลแห่งแรกในอำเภอพล ซึ่งแต่เดิมไม่มีหมอหรือสถานพยาบาลใดๆ มาก่อน นายแพทย์กระแสเป็นผู้เริ่มต้นบุกเบิกการรักษาพยาบาลประชาชนที่ยากจนในอำเภอพล โดยบุกเบิกทำทุกอย่างแม้แต่การซ่อมและทาสีตัวอาคารด้วยตนเอง ตลอดจนได้ชักชวนให้ ข้าราชการ ชาวบ้าน และพ่อค้าในท้องถิ่น ช่วยกันสนับสนุนการตั้งสถานพยาบาลแห่งนี้ ผลงานจากการอุทิศตัวของนายแพทย์กระแสได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และนายแพทย์กระแสได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชนในปี 1973
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษาแต่ละแห่งของทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาที่จะดำเนินการไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษานั้น ต้องอ้างอิงหลักการของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา (2542 ,หน้า 4) คือ
- เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
- ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องนำเทคนิควิธีการ ตลอดจนกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี
ทางการบริหารการศึกษาที่มีอยู่อย่างมากมาย จากนักคิดหลายๆ ท่านนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทฤษฎีทางการศึกษาต่างๆ เป็นเสมือนเครื่องมือนำทางที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถดำเนินการบริหารการศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ ได้อย่างมั่นใจ สร้างเสริมทักษะในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
มีผู้ทำการศึกษาและให้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงดังนี้
แบนดูรา (Bandura, n.d. cited in Bass, 1985, p.16) กล่าวว่า ผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมใจในตนเอง เป็นผู้ควบคุมบังคับตัวเอง ผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงทำให้มาตรฐานของการปฏิบัติงานและความสามารถสูงขึ้นและเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างปฏิบัติให้ถึงมาตรฐานนั้น
แบสส์ และอโวลิโอ (Bass & Avolio, 1988 อ้างถึงใน ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม, 2537, หน้า 53) ได้พัฒนาและทดสอบมโนทัศน์ของภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลง พบข้อสังเกตว่า ผู้นำที่เฉื่อยชามีแนวโน้มที่จะตอบสนองภายหลังจะเกิดปัญหาขึ้นทำให้ประสิทธิผลน้อยกว่าผู้นำที่มีความกระตือรือร้น พวกเขาเน้นที่ปฏิกิริยาของผู้ตามต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำที่แตกต่างกันและพบเจ็ดปัจจัยพื้นฐานของรูปแบบภาวะผู้นำ ซึ่งเพิ่มเติมจาก Burns โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง มี 4 ปัจจัย คือ
1. การสร้างบารมี (Charisma)
2. การคำนึงถึงความแตกต่างแต่ละบุคคล (Individualized Consideration)
3. การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation)
4. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation)
ส่วนสามปัจจัยที่เหลือเป็นปัจจัยเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน สองปัจจัยคือการให้รางวัลตามสถาน
ภาพ และการบริหารด้วยข้อยกเว้น และปัจจัยที่ไม่ใช่ภาวะผู้นำ มีหนึ่งปัจจัย คือ ลักษณะแบบตามสบาย
จากแนวคิดและทฤษฎีและการศึกษาวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำ พฤติกรรมผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิผล จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นมีมากมาย ซึ่งสรุปได้ตามความหมายของภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงที่เน้นว่า ผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมมีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้ตามมีความศรัทธา ให้ความไว้วางใจ เต็มใจที่จะปฏิบัติงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ผู้นำและผู้ตามต่างยกระดับคุณธรรมซึ่งกันและกัน จึงอาจอาจจะสรุปว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงมีหลายด้านซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของ แบสส์ และอโวลิโอ (ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม, 2537, หน้า 61) คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ
ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาในระดับฐานล่าง คือ ในระดับสถานศึกษา ซึ่งในขณะนี้อยู่ในรูปการศึกษาที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายไม่ว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนปฏิบัติงานหรือการเปลี่ยนแปลงองค์การ ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิด ทฤษฎีของแบสส์ และอโวลิโอ ใน 4 องค์ประกอบซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม, 2537, หน้า 61)
1. การสร้างบารมี หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนมีเป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์ชัดเจนในการทำงาน และมีลักษณะเป็นมิตร ใจดี และเป็นกันเองปฏิบัติต่อ ผู้ร่วมงานโดยยึดหลักธรรมทางศาสนาเป็นแบบอย่างแก่ผู้ร่วมงาน ทำให้ผู้ร่วมงานเชื่อฟังนับถือผูกพันเกิดความจงรักภักดี อยากอุทิศตนทำงานและยึดถือค่านิยมตามอย่างที่ผู้บริหารสถานศึกษากระตุ้นและเร้าให้ผู้ร่วมงานเกิดแรงจูงใจและเกิดความต้องการที่จะทำสิ่งใด ๆ เพื่อให้งานสำเร็จและทำให้ผู้ร่วมงานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีความสามารถและอยากปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ผู้บริหารสถานศึกษาคาดหวังไว้
2. การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษายอมรับนับถือความเป็นบุคคลของผู้ร่วมงานดูเอาใจใส่ตอบสนองความต้องการของผู้ร่วมงานแต่ละคนตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล แสดงความชื่นชมในความสามารถของผู้ร่วมงานการให้คำปรึกษาหารือส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานได้พัฒนาตนเองและหาแนวทางพัฒนาผู้ร่วมงาน การให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นพี่เลี้ยงเพื่อฝึกฝนด้านการบริหารจัดการการให้ข้อมูลข่าวสาร การถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้มอบหมายงานพิเศษให้ผู้ร่วมงาน ตลอดจนให้คำแนะนำ การพูดคุยอย่างเป็นกันเองและสร้างสรรค์บรรยากาศของความอบอุ่นและคุ้นเคย
3. การกระตุ้นการใช้ปัญญา หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษากระตุ้นให้ผู้ร่วมงานตระหนักถึงปัญหา และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้ร่วมงาน กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเกิดความสงสัยใคร่รู้มากขึ้นและพยายามหาข้อสรุปใหม่ที่ดีกว่าเดิมในปัญหาเก่าที่เกิดขึ้นและบอกให้ผู้ร่วมงานรู้ว่าปัญหาที่ทางโรงเรียนกำลังเผชิญอยู่คืออะไร บอกถึงจุดอ่อนที่ไม่สามารถพัฒนางานและพัฒนาสถานศึกษา บอกแนวคิดหลักการและกระบวนในการพัฒนาสถานศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
4. การสร้างแรงบันดาลใจ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาใช้คำพูดและการกระทำที่ปลุกปลอบใจให้กำลังใจเร่งเร้า และกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเกิดความกระตือรือร้นเกิดแรงบันดาลใจอยากอุทิศตนและทุ่มเทความพยายามมากเป็นพิเศษ และการพูดการกระทำที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความเชื่อมั่นและภูมิใจว่าพวกเขาสามารถปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จตลอดจนการให้ผู้ร่วมงานอาสาสมัครทำงานและทดลองโครงการใหม่ๆ
ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ที่มีความสำคัญ ในอันที่จะบริหารจัดการศึกษาอันเป็นพื้นฐานแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงควรมีภาวะผู้นำหรือสร้างภาวะผู้นำให้บังเกิดขึ้นเพื่อนำพาบุคลากรในสถานศึกษาให้พร้อมที่จะดำเนินงานการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายและการดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
Wynn Hotel Casino & Spa - Mapyro
ตอบลบWynn Las 이천 출장안마 Vegas 제주 출장안마 and Encore offer luxurious hotel rooms and 대전광역 출장마사지 suites, sensuous spa treatments, 제천 출장안마 delectable 의정부 출장안마 dining and exciting casino gaming.