ข้อสอบวิชาบริหาร
ข้อ1 นักศึกษาจงค้นคว้างานวิจัย / วิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ empowerment หรือ motivation ในเชิงการการบริหารงานการพยาบาล (50 คะแนน)
1.1 สรุปเป็นบทความเชิงวิชาการ ความยาวไม่เกิน 1 ½ หน้า กระดาษ A4
กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วยแก่บุคลากร :เปรียบเทียบโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพและโรงพยาบาลที่รอรับการรับรองคุณภาพในภาคใต้
การปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทย กำหนดเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ ทำให้รัฐต้องปรับการบริการให้มีคุณภาพและต้องรักษามาตรฐานงานวิชาชีพ โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องพัฒนาการบริการ เพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล โดยการดำเนินงานประกอบด้วยกระบวนการหลัก 3 ขั้นตอนคือ 1)การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามแนวทางที่กำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล 2)การประเมินตนเองเพื่อตรวจดูความก้าวหน้าและความพร้อมที่จะให้องค์การภายนอกมาเยี่ยมสำรวจ 3)การเยี่ยมสำรวจและการรับรองจากองค์การภายนอกโดยมีเป้าหมายคือ คุณภาพบริการสุขภาพที่ดีขึ้น
หอผู้ป่วยเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการให้บริการและเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพ โดยมีหัวหน้าหอผู้ป่วยทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงการบริหารและการบริการไว้ด้วยกัน และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับบุคลากรทางการพยาบาลมากที่สุด จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการดำเนินการจัดการให้การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในแต่ละหอผู้ป่วยในการรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยกลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจของ Konger และ Kanungo ประกอบด้วย 1)บริหารงานแบบมีส่วนร่วม 2)สร้างเป้าหมายงาน 3)สร้างระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ 4)จัดระบบเสริมแรง 5)จัดระบบงานที่ท้าทาย และ6)ทำตัวเป็นแบบอย่าง
จากการศึกษาการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ จะทำให้ความพึงพอใจในงานเพิ่มขึ้น เกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ เกิดความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการและการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จขององค์การ หัวหน้าหอผู้ป่วยจึงต้องอาศัยความเข้าใจในการบริหารบุคลากรการพยาบาล เพื่อที่จะให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และหัวหน้าหอผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารและงานบริการที่อยู่ใกล้ชิดผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด จะเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับบุคลากรการพยาบาลในการปฏิบัติงาน และกลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจของ Conger และ Kanungo ยังสอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อการรับรองคุณภาพโดยใช้แนวคิดการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ
จากผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการเสริมสร้างพลังอำนาจของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพและโรงพยาบาลที่รอรับการรับรองคุณภาพอยู่ในระดับมาก อาจอธิบายได้ว่า การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในกระทรวงสาธารณสุขมีลักษณะงานและการปฏิบัติงานที่คล้ายคลึงกัน ทั้งโครงสร้างการการบริหารงาน การบริหารจัดการในหน่วยงาน การประกันคุณภาพการพยาบาล การบริหารจัดการจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้การปฏิบัติของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่บุคลากรทั้งของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพและโรงพยาบาลที่รอรับการรับรองคุณภาพไม่แตกต่างกัน
การเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วยแก่บุคลากรโดยใช้กลยุทธ์การสร้างพลังอำนาจของ Conger และ Kanungo ทั้งในโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพและโรงพยาบาลที่รอรับการรับรองคุณภาพในภาคใต้นั้นไม่แตกต่างกัน แต่ปฏิบัติในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรนำผลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางสำหรับทีมสุขภาพอื่นในสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้บุลลากรได้รับรู้ถึงคุณค่าและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองขณะปฏิบัติงาน จะช่วยผลักดันให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายและการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อการบริการที่มีคุณภาพและยั่งยืน
อ้างอิงจาก :สงขลานครินทร์เวชสาร ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (ม.ค. –ก.พ.2549), หน้า 27-35.
1.2 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ -ความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น
ของ Conger และ Kanungo -เกิดความยึดมั่นกับองค์การ
-การปฏิบัติของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการ -เกิดความพึงพอใจในงานของพยาบาล
เสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากร ประจำการ
-จัดระบบเสริมแรง -การคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ
-จัดระบบงานที่ท้าทาย
-ทำตัวเป็นแบบอย่าง
-บริหารงานแบบมีส่วนร่วม
-สร้างเป้าหมายงาน
-สร้างระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ
1.3 สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฏีที่ใช้ในงานวิจัย/วิทยานิพนธ์
คอนเจอร์ และ คาร์นูโก (Conger & Kanungo,1988) กล่าวถึงการเสริมสร้างพลังอำนาจว่าเป็นกระบวนการสำหรับองค์กรที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยเชื่อว่าบุคคลมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ถ้าได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมจากผู้บังคับบัญชา และเมื่อบุคคลมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ย่อมส่งผลถึงการปฏิบัติงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบทั้งการเสริมสร้างพลังอำนาจทั้งด้านโครงสร้างและด้านจิตใจ โดยด้านโครงสร้างผู้บริหารจะเน้นการบริหารจัดการ ส่วนการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นด้านของจิตวิทยา จะเน้นการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความสำคัญของงานและของตนเองที่มีต่องาน
กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1 การหาสาเหตุหรือเงื่อนไขที่นำไปสู่ภาวะไร้อำนาจ (Conditions leading to a psychological state of powerlessness)
1) ปัจจัยด้านองค์กร (Organizational factors)
2) การนิเทศงาน (Supervision )
3) การระบบการให้รางวัล (Reward system)
4) ลักษณะงาน (Nature of job)
ขั้นที่ 2 การเลือกเทคนิคและกลยุทธ์ในการจัดการ (The use of managerial strategies and techniques)
1) การบริหารอย่างมีส่วนร่วม (Participative management)
2) การตั้งเป้าหมาย (Goal setting)
3) ระบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback system)
4) การเป็นตัวอย่างที่ดี (Modeling)
5) การเสริมแรง (Contingent/competence-based reward)
6) การเพิ่มคุณค่าในงาน (Job enrichment)
ขั้นที่ 3 การช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (To provide self-efficacy information to subordinates)
1) การไปสู่เป้าหมาย (Enactive attainment)
2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น (Vicarious experience)
3) การจูงใจด้วยวาจา (Verbal persuasion)
4) การกระตุ้นทางอารมณ์ (Emotional arousal)
ขั้นที่ 4 ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Results in empowering experience of subordinates)
ขั้นที่ 5 พฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Leading to behavioral effects)
ข้อ 2 นับตั้งแต่วินาทีเป็นต้นไป ถึงสิ้นเทอมปีการศึกษาภาคการเรียนที่ 1 / 2553 นักศึกษาจงวิเคราะห์ตนเองในเรื่องส่วนตัว การศึกษาในเทอมนี้ (25 คะแนน)
โดย 2.1 ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จ
ตอบ 1. ตั้งใจเรียน ทำข้อสอบแต่ล่ะวิชาให้ผ่านตามเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนด
2. ตรงต่อเวลาการการมาเรียน และการฝึกปฏิบัติงาน ไม่มาสาย ไม่ขาดเรียนโดยไม่มีเหตุจำเป็น
2.2 ใช้หลักการในการบริหารเวลาจัดทำตารางการทำงาน การเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
วัน/เวลา 07.00-08.00 08.00-08.30 09.00-12.00 13.00-16.00 17.00-19.00 19.00-20.00 21.00-0.00 0.00-07.30
จันทร์ ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
อังคาร ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
พุธ ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
พฤหัสบดี ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
ศุกร์ ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
เสาร์ พักผ่อน ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว ทำการบ้าน พักผ่อน,ดูทีวี ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
อาทิตย์ พักผ่อน ตื่นนอน,อาบน้ำ,แต่งตัว ทำการบ้าน พักผ่อน,ดูทีวี ออกกำลังกาย รับประทานอาหาร ทำการบ้าน,ทบทวนบทเรียน พักผ่อน
ข้อ 3 จากการที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยทุก Area ให้นักศึกษาทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง (conflict) ในเชิงบริหาร 1 สถานการณ์ (25 คะแนน) โดย
3.1 ถ้านักศึกษาดำรงบทบาทหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึก หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ นักศึกษาจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไร?
ตอบ สถานการณ์ : การฝึกงานวิชาสูติศาสตร์(LR)
มารดารอคลอดรายหนึ่ง มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด พยาบาลประจำห้องคลอดจึงรับไว้ในห้องรอคลอด ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร แต่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดมาก ร้องไห้ขอพบญาติ มารดาและสามีของผู้ป่วยจึงเข้ามาพบ มารดาจึงปลอบใจว่าเจ็บท้องคลอดก็เป็นแบบนี้กันทุกคนนั่นล่ะ ด้านสามีเห็นว่าภรรยาเจ็บปวดมากจึงสอบถามพยาบาลว่า เมื่อไหร่จะทำคลอดสักที พยาบาลห้องคลอดจึงทำการตรวจภายในและบอกว่าตอนนี้ปากมดลูกเปิดได้แค่ 5 เซนติเมตร ให้เบ่งคลอดยังไม่ได้ เพราะปากมดลูกจะบวม ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดหมดก่อน ญาติผู้ป่วยก็รับฟัง สักพักก็กลับมาถามพยาบาลอีกด้วยท่าทางไม่ค่อยพอใจ พยาบาลจึงตอบไปแบบเดิม แต่ญาติไม่พอใจและถามว่า ทำไมพยาบาลไม่ทำคลอด คนเจ็บจะตายอยู่แล้ว ต้องรอให้ตายก่อนหรือไงถึงจะมาดูแล พยาบาลก็พยายามอธิบายให้ญาติเข้าใจ แต่ญาติไม่ยอมรับฟัง อีกทั้งยังเดินไปดูชื่อพยาบาลที่ขึ้นเวรวันนั้น และบอกว่าถ้าไม่ทำอะไรให้จะย้ายไปโรงพยาบาลอื่น
ถ้าดิฉันเป็นหัวหน้าตึกจะบริหารจัดการ ดังนี้.
อธิบายให้ญาติรับฟังเกี่ยวกับกระบวนการคลอด การเจ็บครรภ์คลอด และอันตรายจากการเบ่งคลอดขณะที่ปากมดลูกยังไม่เปิดหมด คือ 10 เซนติเมตรด้วยความนุ่มนวลและท่าทีที่สงบ รวมทั้งอธิบายว่าการเจ็บครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงรอคลอดทุกคน ขึ้นอยู่กับระดับความเจ็บปวดของแต่ละบุคคล บางคนก็เจ็บมาก บางคนก็เจ็บน้อย พยาบาลก็ให้การดูแลตามอาการ มีการตรวจภายใน ตรวจดูการบีบตัวของมดลูก ฟังเสียงอัตราการเต้นของหัวใจทารก และนวดบรรเทาปวด และก็ต้องรอให้ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตรก่อน จึงจะย้ายเข้าไปคลอดได้ แต่ถ้าญาติรอไม่ไหว อยากจะย้ายโรงพยาบาลก็สามารถทำได้ แต่ในระหว่างการเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้น อาจเกิดการคลอดบนรถได้ แต่จะมีพยาบาลห้องคลอดพร้อมกับอุปกรณ์ในการทำคลอดพร้อมใช้งานติดรถไปด้วย พร้อมทั้งจะติดต่อประสานไปยังโรงพยาบาลนั้นๆเรียกรถพยาบาลและเขียนใบส่งตัวให้ หลังจากอธิบายแล้วก็เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติตัดสินใจว่าจะรอคลอดที่นี่หรือจะย้ายไปยังโรงพยาบาลอื่น
3.2 นักศึกษาจะหาแนวทางป้องกันไม่ให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?
1) นำเหตุการณ์ที่เกิดมาทบทวนและหาทางป้องกันแก้ไขร่วมกันในทีมการพยาบาล
2) มีการพูดคุยและอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ ได้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคลอด การเจ็บครรภ์คลอด และบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการทำคลอด